การป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์

บทนำ ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์อัจฉริยะได้เปิดโอกาสให้เราเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อออนไลน์นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยง โดยเฉพาะการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียข้อมูลส่วนตัวหรือทรัพย์สินได้ ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจวิธีการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์ ประเภทของการหลอกลวงทางไซเบอร์ ฟิชชิง (Phishing): การส่งอีเมลหรือข้อความที่แอบอ้างเป็นองค์กรหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น อีเมลปลอมที่ขอให้คุณยืนยันรหัสผ่าน มัลแวร์ (Malware): โปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายหรือขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เช่น ไวรัส โทรจัน และแรนซัมแวร์ สแปม (Spam): ข้อความหรืออีเมลที่ถูกส่งมาในปริมาณมาก เพื่อโฆษณาหรือหลอกลวง มักมีลิงก์ที่นำไปสู่เว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย วิธีการป้องกันตนเอง ตรวจสอบแหล่งที่มา: ก่อนคลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์ ควรตรวจสอบว่าแหล่งที่มาน่าเชื่อถือหรือไม่ หลีกเลี่ยงการตอบสนองต่ออีเมลหรือข้อความที่น่าสงสัย ใช้รหัสผ่านที่แข็งแรง: ตั้งรหัสผ่านที่มีความยาวและประกอบด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี อัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำ: การอัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ช่วยปิดช่องโหว่ที่แฮกเกอร์อาจใช้โจมตี ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส: ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่น่าเชื่อถือและอัปเดตฐานข้อมูลไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังข้อมูลส่วนตัว: หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย ตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีการเข้ารหัส SSL หรือไม่ (ดูที่ URL ขึ้นต้นด้วย “https://”) ใช้เครือข่าย Wi-Fi

Read More

การใช้งาน Line บนระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า

  LINE หยุดให้บริการแอปพลิเคชัน LINE สำหรับ Windows/Mac เวอร์ชัน 8.3.0 และต่ำกว่าแล้ว ในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 หากคุณใช้งานแอปพลิเคชัน LINE สำหรับ Windows/Mac เวอร์ชัน 8.3.0 หรือต่ำกว่า จะไม่สามารถใช้งาน LINE ได้ กรุณาตรวจสอบเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ Windows/Mac ของคุณ Windows 10 และ macOS Big Sur 11.0 ขึ้นไป : สามารถใช้งาน LINE ได้โดย อัปเดต แอปพลิเคชัน LINE สำหรับ Windows/Mac เป็นเวอร์ชัน 8.4.0 ขึ้นไป Windows 8.1 และ macOS Catalina 10.15.7 หรือต่ำกว่า : ไม่สามารถใช้งาน LINE ได้

Read More

การสร้างรหัสผ่านแบบสุ่ม

การป้องกันการเข้าถึงด้วยรหัสผ่านในระบบต่างๆ มีความสำคัญมากทางด้านความปลอดภัย ถ้ามีการตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไปหรือสามารถคาดเดาได้ง่าย อาจะส่งผลต่อข้อมูลที่สำคัญจะถูกขโมยได้ ดังนั้นจำมีความจำเป็นมากและควรให้ความสำคัญกับรหัสผ่านให้มากขึ้น   ในวันนี้ถ้าเรายังคิดรหัสผ่านที่ปลอดภัยยังไม่ได้ จะมีเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับสร้างรหัสผ่านแบบซุ่มและสามารถเลือกรูปแบบการสุ่มได้ช่วยให้สะดวกต่อการสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัยมากขึ้น   1. เข้าที่เว็บไซต์ https://genpassword.net   2. เมื่อเข้ามาแล้วจะปรากฏดังภาพ และสามารถเซตรูปแบบรหัสผ่านได้ตามหัวข้อดังนี้ 1). เลือกรูปแบบรหัสผ่าน ถ้าเลือก Password จะแสดงเป็น Random Text ตามรูปภาพ  ถ้าเลือกแบบ Passphrase จะสร้างรหัสผ่านในรูปแบบประโยคคำ หลายๆคำมาต่อกัน เช่น goliath-swinger-trimming-halved-glorified   2). เลือกรูปแบบการผสมเพื่อสร้างรหัสผ่าน ในตัวอย่างจะเป็นการเลือกให้มีตัวอักษรเล็กและใหญ่ ตัวเลข และอักขระพิเศษผสมรวมกันในรหัสผ่าน   3). เลือกจำนวนตัวอักษรรหัสผ่านที่ต้องการจะสร้างในตัวอย่างเลือก  14 ตัวอักษร (ในด้านความปลอดภัยควรสร้างอย่างน้อย  6  ตัวอักษรขึ้นไป)   4). กดปุ่มสร้างรหัสผ่าน   5). รหัสผ่านที่ทำการสุ่มสร้างขึ้นมาตามตัวเลือกที่กำหนดไว้ ภักดี โตแดงนักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

6. ขั้นตอนการติดตั้ง User Certificate (p12) สำหรับ Windows | Foxit PDF Editor

การติดตั้ง Certificate (p12) ในโปรแกรม Foxit PDF Editor สำหรับ Windows เพื่อใช้ในการลงลายมือชื่อดิจิทัลสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้           1.  เปิดโปรแกรม Foxit PDF Editor |  เมนู Protect –> Sing & Certify –> Digital IDs     2.  เมื่อขึ้น popup Digital IDs ให้กดที่ปุ่ม Add ID –> My existing digital ID from a file     3.  เตรียมไฟล์ p12 ที่ได้รับจากสำนักคอมพิวเตอร์ที่ส่งให้ผ่านทางอีเมล์ส่วนตัว โดยไฟล์

Read More

5. ขั้นตอนการติดตั้ง User Certificate (p12) สำหรับ MacOs | Foxit PDF Editor

การติดตั้ง Certificate (p12) ในโปรแกรม Foxit PDF Editor เพื่อใช้ในการลงลายมือชื่อดิจิทัลสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้           1.  เปิดโปรแกรม Foxit PDF Editor |  เมนู Protect –> Sing & Certify –> Digital IDs     2.  เมื่อขึ้น popup Digital IDs ให้กดที่ปุ่ม Add ID –> My existing digital ID from a file     3.  เตรียมไฟล์ p12 ที่ได้รับจากสำนักคอมพิวเตอร์ที่ส่งให้ผ่านทางอีเมล์ส่วนตัว โดยไฟล์ p12 เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูล

Read More

4. วิธีการติดตั้ง Root CA ใน Foxit บน Windows

การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ผ่าน Certificate ของทาง TUC หรือ Thai University Consortium มีความจำเป็นต้อง Trust Root CA ของทาง TUC ก่อนเพื่อให้สามารถอ่าน CA ของ TUC ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นก่อนการใช้งานจำเป็นต้องเพิ่ม Root CA ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานและติดตั้งลงในโปรแกรม Foxit  โดยมีขั้นตอนดังนี้       ขั้นตอนการติดตั้ง Root CA บน Windows   1. Download Thai University Consortium Certification Authority.cer  เมื่อได้ไฟล์ Thai University Consortium Certification Authority.cer ให้เปิดโปรแกรม Foxit ที่ SingIn ผ่าน

Read More

3. วิธีการติดตั้ง Root CA ใน Foxit บน MacOS

การลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ผ่าน Certificate ของทาง TUC หรือ Thai University Consortium มีความจำเป็นต้อง Trust Root CA ของทาง TUC ก่อนเพื่อให้สามารถอ่าน CA ของ TUC ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นก่อนการใช้งานจำเป็นต้องเพิ่ม Root CA ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานและติดตั้งลงในโปรแกรม Foxit  โดยมีขั้นตอนดังนี้       ขั้นตอนการติดตั้ง Root CA บน MacOS 1. เข้าโปรแกรม Keychain Access ที่ Application -> Utilities -> Keychain Access     2.  เมื่อเข้าโปรแกรม Keychain Access ต้อง Import

Read More

2. การติดตั้ง Foxit Editor Pro และการเข้าใช้งานผ่าน SSO Login

โปรแกรม Foxit Editor Pro เป็นโปรแกรมแก้ไขและจัดการเอกสาร PDF ที่มีความสามารถหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขเนื้อหาของเอกสาร PDF ได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Foxit Editor Pro มีคุณสมบัติที่มากมาย เช่น การแก้ไขข้อความและรูปภาพในเอกสาร PDF โดยไม่ต้องเปิดเอกสารในโปรแกรมต้นฉบับ ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบข้อความและรูปภาพได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือให้สามารถเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด สี และรูปแบบต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากการแก้ไขเนื้อหา โปรแกรมยังมีคุณสมบัติในการจัดการเอกสาร PDF อื่น ๆ เช่น การเพิ่มหรือลบหน้า การจัดหน้าใหม่ การเชื่อมโยงหน้า การแบ่งหน้า เพิ่มหรือลบหัวเรื่อง การเปลี่ยนหมายเลขหน้า และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ Foxit Editor Pro ยังมีฟีเจอร์การรวมหลายเอกสาร PDF ให้เป็นไฟล์เดียว และฟีเจอร์การแยกหน้า PDF ออกเป็นไฟล์เดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บและแชร์เอกสาร โปรแกรม Foxit Editor Pro

Read More

1. Download Root CA เพื่อใช้งาน Thailand University Consortium (TUC)

ระบบตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล สามารถตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัลที่ทำการเซ็นเอกสารด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่อยู่ภายใต้สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย Thailand University Consortium Root CA (TUC) หากเป็นเอกสารที่ลงลายเซ็นดิจิทัลด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย Thailand University Consortium Root CA (TUC) จำเป็นต้องทำการติดตั้ง  Root CA ของ TUC เพื่อให้สามารถตรวจสอบเอกสารเพื่อความน่าเชื่อถือ     Root CA ของ TUC distribute มีสองแบบ 1. รูปแบบเป็น Form Data Format (fdf) สำหรับ import โดย Adobe Reader ถ้าใช้ Adobe Reader/Acrobat แนะนำให้ใช้ไฟล์นี้ https://cdp.kku.ac.th/TUCTrustedCert.fdf 2. รูปแบบเป็น standard PEM format ใช้ได้กับโปรแกรมอื่น ๆ รวมถึงของ Adobe ,

Read More

ป้องกันตนเองจากมัลแวร์

ป้องกันตนเองจากมัลแวร์ เราอยากจะเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและไม่มีการหลอกลวง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาชญากรออนไลน์และแฮ็กเกอร์หลบซ่อนอยู่ทุกที่ และพยายามที่จะก่อปัญหา การก่อปัญหาวิธีหนึ่งคือการแพร่กระจายมัลแวร์ คุณสามารถป้องกันตัวเองโดยการศึกษาว่ามัลแวร์คืออะไร วิธีการแพร่กระจาย และวิธีการป้องกัน มัลแวร์คืออะไร “มัลแวร์” หมายถึงซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อทำอันตรายคอมพิวเตอร์ มัลแวร์สามารถขโมยข้อมูลสำคัญจากคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะค่อยๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง หรือแม้กระทั่งส่งอีเมลปลอมจากบัญชีอีเมลของคุณโดยที่คุณไม่ทราบ ต่อไปนี้คือประเภทของมัลแวร์ที่พบบ่อย ซึ่งคุณน่าจะเคยได้ยินมาบ้าง ไวรัส: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นอันตราย ซึ่งจำลองตัวเองและฝังตัวในคอมพิวเตอร์ได้ เวิร์ม: โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันตรายที่ส่งตัวจำลองที่สร้างขึ้นไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านเครือข่าย สปายแวร์: มัลแวร์ที่เก็บข้อมูลจากบุคคลอื่นโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว แอดแวร์: เป็นซอฟต์แวร์ที่เล่น แสดง หรือดาวน์โหลดโฆษณาบนคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ ม้าโทรจัน: โปรแกรมทำลายล้างที่หลอกว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์ แต่แท้จริงแล้วจะทำอันตรายกับคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูลของคุณหลังจากติดตั้ง มัลแวร์แพร่กระจายอย่างไร มัลแวร์เข้าสู่คอมพิวเตอร์ของคุณได้หลายวิธี ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่พบบ่อย การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ฟรีจากอินเทอร์เน็ตที่มีมัลแวร์แฝงอยู่ การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายที่แอบมีมัลแวร์ผูกติดมาด้วยในชุด การเข้าชมเว็บไซต์ที่ติดเชื้อมัลแวร์ การคลิกข้อความแสดงข้อผิดพลาดหรือหน้าต่างป๊อปอัปปลอม ซึ่งเป็นการเริ่มดาวน์โหลดมัลแวร์ การเปิดไฟล์แนบอีเมลที่มีมัลเแวร์ มัลแวร์มีวิธีแพร่กระจายที่แตกต่างกันมากมาย แต่คุณสามารถหยุดการแพร่กระจายนั้นได้ ตอนนี้คุณรู้แล้วว่ามัลแวร์คืออะไรและทำงานอย่างไร ต่อไปลองมาดูวิธีป้องกันตนเองที่ใช้การได้จริง ที่มา  :  https://support.google.com/google-ads/answer/2375413?hl=th#zippy= ภักดี โตแดงนักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล