การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาของระบบ เครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มักจะเกิดจากติดตั้งไม่ดีพอ ซึ่งทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้การตรวจสอบการ์ดเครือข่าย การตรวจสอบการ์ดเครือข่าย มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1.ให้คลิกขวาที่ไอคอน My computer ที่อยู่บริเวณ Desktop แล้วเลือกรายการ Properties หรือ คลิกที่ Startแล้วเลือกเมาส์ข้างขวาบริเวณ Computer แล้วเลือก Properties 2.จะปรากฏกรอบ Control Panel แล้วให้เลือก Advanced system settings (หรือ คลิกที่ Device Manager ) 3.จะปรากฏกรอบ System Properties ให้เลือกแท็บ Hardware แล้วคลิกที่ปุ่ม Device Manager 4.ให้ตรวจสอบดูอุปกรณ์เครือข่ายตรง Network Adapter หากพบสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายตกใจนั่นหมายความว่า พบปัญหาเบื่องต้นที่การ์ดเครือข่ายแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ได้ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ของการ์ดเครือข่ายบนเครื่องนั้น 5.ทำการคลิกขวาที่ชื่อการ์ดเครือข่ายนั้นแล้วเลือกรายการ Properties 6.คลิกที่ Driver ที่ต้องการ 7.ให้เลือก Update Driver Software… 8.กำหนดให้เครื่องหมายค้นหาแบบอัตโนมัติ ด้วยการเลือกรายการ lnstall the Software Automatically และคลิกปุ่ม Next 9.เมื่ออัพเดท ( Update ) เรียบร้อยแล้วให้คลิก Finish 10.จากนั้น Close อ้างอิง : https://elearningsurasakblog.wordpress.com/ นพฤทธิ จันกลิ่นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฝ่ายงานพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง โดยไม่กระทบผู้ใช้งานคนอื่นๆในองค์กร

การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง โดยไม่กระทบผู้ใช้งานคนอื่นๆในองค์กร ปัญหาที่พบบ่อยมากในองค์กร การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ได้ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียบสาย Lan สาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้ จุดสถานที่ดังกล่าวไม่มี ช่องเสียบสัญญาณLan หรือไม่มีสัญญาณ Wi-Fi เพื่อใช้งาน Internet แก้ไขปัญหานี้ก็ต้องให้ผู้ชำนาญเดินสายสัญญาณเพิ่ม หรือหาอุปกรณ์กระจายสัญาญาณ Wi-Fi มาติดตั้งเพิ่มเติม ผู้ใช้งานInternet ได้ ถ้าจุดสถานที่ดังกล่าวมี ช่องเสียบสัญญาณLan น้อยกว่า จำนวนผู้ใช้งาน และไม่มีสัญญาณ Wi-Fi แก้ปัญหานี้ก็ไปจัดหาอุปกรณ์กระจายช่องสัญญาณมาต่อเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ switch เพื่อเพิ่มช่องเสียบสายLan ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถ้ายุ่งยากในการเดินสายLan ก็หาอุปกรณ์สัญญาณแบบไร้สาย Wi-Fi มาต่อกับช่องสัญาญาณLan ในจุดดังกล่าว ผู้ใช้งานInternet ได้ แต่ปัญหาที่เกิดตามมาในข้อ 2 เมื่อเอาอุปกรณ์ Wireless Router มาต่อเข้ากับช่องสัญญาณ Lan  ซึ่งตัวอุปกรณ์ดังกล่าว ทำตัวเป็น DHCP server แล้วมันคืออะไร DHCP server ก็คือว่าตัวมันจะแจก IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ

Read More

แก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ช้า โดยการล้างไฟล์ขยะ

1. Disk Cleanup ผ่าน ไดร์ฟ C คลิกขวาที่ไดรฟ์ c ของเรา เลือก Properties จากนั้นกด Disk Cleanup รอสักครู่ จะขึ้นหน้า Disk Cleanup กด Clean up system files ติ๊กเครื่องหมายถูกให้หมดทุกช่อง กด OK กด delete file —————————————————————– 2. ลบ temp ผ่าน Windows Run กดปุ่ม windows และ R พร้อมกัน พิมพ์ %Temp% กด OK เปิดหน้าไฟล์ เราสามารถกดลบได้หมดเลย โดยการกด Ctrl+A และ Shift Delete ติ๊กเครื่องหมาย ถูก กด

Read More

ภัยไซเบอร์ปี 2021 เร็ว-แรง-ไม่เคยเห็นมาก่อน (Cyber Weekend)

มีแนวโน้มว่าปี 2021 มัลแวร์ตัวร้ายระดับสูงจะสามารถลุกลามเข้าไปถึงเครือข่ายขององค์กรได้ เตรียมรับมือภัยไซเบอร์ปี 2021 ที่จะรวดเร็วและรุนแรงกว่าเดิม โดย “แรนซัมแวร์” ซอฟต์แวร์ตัวร้ายเรียกค่าไถ่ข้อมูลคือแชมป์ภัยไซเบอร์อิมแพกต์แรงที่สุดต่อเนื่อง เตือนจับตามัลแวร์ระดับสูงจะสามารถลุกลามเข้าไปถึงเครือข่ายขององค์กรได้ ขณะที่เครือข่ายข้อมูลไร้สายความเร็วสูงอย่าง 5G มีโอกาสทำให้เกิดการร่วมมือกันของแฮกเกอร์ จนเข้าไปโจมตีระบบใดระบบหนึ่งได้สำเร็จ เพราะแฮกเกอร์จะค้นหาและแชร์ข้อมูล รวมถึงวิเคราะห์หาจุดอ่อนได้รวดเร็วขึ้น ทำให้การโจมตีที่ไม่เคยเกิดขึ้น สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยความเร็วสุดยอดของ 5G คำพยากรณ์นี้มาจาก “ฟอร์ติเน็ต” ผู้ให้บริการโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งคาดการณ์จากทีมข่าวกรองและการวิจัยภัยคุกคามทั่วโลกของฟอร์ติการ์ดแล็บส์ เกี่ยวกับภาพรวมของภัยคุกคามในปี ค.ศ.2021 และในอนาคต ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต อธิบายว่า ภัยปีหน้านั้นเป็นการต่อยอดจากปีนี้ โดยภาพรวมครึ่งแรกของปี 2020 นี้พบการโจมตีด้วยไวรัสที่แฝงมากับการล่อลวงฟิชชิงธีมโควิด-19 มากขึ้น แต่เป็นการโจมตีผ่านเว็บไซต์มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนจากก่อนหน้านี้ที่มีการโจมตีผ่านอีเมลมากกว่า ขณะเดียวกัน ก็มีแรนซัมแวร์ มีการปรับวิธีเรียกค่าไถ่แบบใหม่ ภัยใหม่ รวมถึงเป้าหมายใหม่อย่างระบบปฏิบัติงานในองค์กร  ***อย่าวางใจเว็บไซต์ ดร.รัฐิติ์พงษ์ อ้างตัวเลขจากกูเกิลที่พบว่าขณะนี้มีเว็บไซต์มากกว่า 6,000-7,000 แห่งที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 แต่ในจำนวนนี้มีเว็บไซต์ที่ประสงค์ร้ายแฝงอยู่โดยใช้ธีมโควิด-19 บังหน้า จนการสำรวจเดือนพฤษภาคมพบมีเว็บธีมโควิด-19 ที่ให้ข้อมูลล่อลวงมากกว่าเว็บไซต์ที่ถูกต้อง เป็นสถิติที่สะท้อนว่านักเจาะระบบพยายามใช้เรื่องใหม่ที่ผู้คนสนใจเป็นตัวหลอกล่อให้เข้าเว็บไซต์ แล้วพยายามหาวิธีดึงเอาข้อมูลส่วนตัวไป

Read More

SophosLabs Research พบแนวโน้มอันตรายไซเบอร์ “ที่ออกแบบมาอย่างดี” กำลังพุ่งสูงขึ้น

Sophos  ได้เปิดเผยวันนี้ว่า ทาง SophosLabs Research ค้นพบแนวโน้มการเติบโตของอาชญากรไซเบอร์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายตามรายประเทศ โดยออกแบบ Ransomware และการโจมตีทางไซเบอร์ที่อันตรายอื่นๆ ให้เข้ากับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้รวมรวบมาจากเครื่องเอ็นด์พอยท์หลายล้านจุดทั่วโลก ที่นำมาวิเคราะห์โดยทีมงานของ SophosLabs เพื่อล่อเหยื่อให้เข้ามาติดกับมากขึ้นนั้น ปัจจุบันเหล่าอาชญากรไซเบอร์ได้ออกแบบสแปมแบบที่ปรับแต่งทั้งรูปแบบการสื่อสาร, โลโก้แบรนด์, รวมทั้งวิธีการชำระเงินที่สอดคล้องกับที่ใช้ในพื้นที่นั้นๆ  ซึ่ง Sophos ระบุว่าไวรัสเรียกค่าไถ่นี้ปลอมตัวได้อย่างแนบเนียนในรูปการแจ้งเตือนทางอีเมล์, ปลอมโลโก้แบรนด์ในท้องถิ่น เพื่อให้น่าเชื่อถือมากขึ้น, มีอัตราการคลิกสูงขึ้น และทำให้อาชญากรทำเงินได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งเพื่อที่จะให้เมล์หลอกลวงเหล่านี้หลอกได้ผลมากที่สุด ก็มักจะแฝงตัวในรูปหน่วยงานในประเทศนั้นๆ เช่น ไปรษณีย์, หน่วยงานด้านภาษีและกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนการได้รับพัสดุไปรษณีย์, การคืนเงิน, การจองตั๋วแบบลัดคิว, หรือแม้แต่การแจ้งบิลค่าไฟฟ้า SophosLabs ยังพบด้วยว่าสแปมเหล่านี้มีการใช้ภาษาและไวยากรณ์ในท้องถิ่นอย่างถูกต้องจนเดาไม่ออกเลยทีเดียว   “คุณจำเป็นต้องตรวจดูอย่างละเอียดมากเพื่อแยกเมล์จริงจากเมล์ปลอม” เชสเตอร์ วิสนิวสกี้ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านความปลอดภัยของ Sophos กล่าวและเสริมว่า “การตระหนักถึงเทคนิคการหลอกลวงที่ใช้ในพื้นที่ของคุณ ถือเป็นหลักการสำคัญด้านความปลอดภัย” นักวิจัยยังพบแนวโน้มการใช้ Ransomware หลากหลายสายพันธุ์ต่อเป้าหมายที่เจาะจงด้วย เช่น CryptoWall หลายเวอร์ชั่นที่เจาะจงเหยื่อในสหรัฐฯ, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน และฝรั่งเศส

Read More

เตือนระวังเว็บปลอม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้อ้างข้อมูลเท็จลวงให้ลงทุน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนระวังเว็บปลอมลวง หวังหลอกลวงให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล ที่เป็นสมมติเลขทะเบียนขึ้นมา แล้วหวังผลให้เหยื่อร่วมลงทุน ยันเร่งหาตัวคนทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย…                    เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2562 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมได้ติดตามและตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการให้บริการข้อมูลนิติบุคคลแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นข้อมูลผ่านทางออนไลน์ของกรม โดยเป็นมาตรการที่เคร่งครัดด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีที่กรมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีได้ปลอมแปลงเว็บไซต์ โดยใช้ชื่อโดเมนเนมว่า http:///dbd-go-thdbdwebthaii.com ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายกับเว็บไซต์หลักของกรม หน้าภาษาอังกฤษ และมีช่องทางให้ผู้ที่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมข้างต้นกรอกข้อมูลเพื่อเข้าไปตรวจสอบเลขทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งเลขดังกล่าวเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งจริงกับกรม                   “ชัดเจนว่าการกระทำนี้ มีเจตนาหลอกลวงให้ผู้ที่เข้าไปใช้เว็บไซต์ปลอม เชื่อว่า เลขนิติบุคคลที่ได้สมมติขึ้น มีการจดทะเบียนจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอาจทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดต่อกับผู้ทำเว็บไซต์ปลอมนี้ ถูกล่อลวงและหลงเชื่อให้ร่วมดำเนินธุรกิจ จนกระทั่งเกิดความเสียหายตามมา” ทั้งนี้ กรมอยู่ระหว่างการตรวจสอบเชิงลึกถึงที่มาและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว ประกอบกับ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายและการปราบปรามผู้กระทำผิดทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

Read More

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ตรวจจับภัยทางไซเบอร์

ปริมาณข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 48 ชั่วโมงนั้นมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา 1 เครื่องหรือ 100 เครื่อง ที่จะประมวลผล ยิ่งความ ต้องการระบุภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร นักวิเคราะห์เลยต้องพึ่งพาการสุ่มตัวอย่างข้อมูลขนาดเล็ก เพื่อสืบเสาะพฤติกรรมน่าสงสัยและภัยที่อาจเกิดขึ้น ทว่าการสุ่ม ตัวอย่างแบบนี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ แต่ใช่ว่าหนทางจะตีบตัน ล่าสุด วีเจย์ กาเดพัลลี เจ้าหน้าที่อาวุโสของห้องปฏิบัติการศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ลินคอล์น เชื่อว่าระบบปฏิบัติการที่ช่วยประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลจะเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมของนักวิเคราะห์ ให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคราวเดียว ซึ่งทีมประสบความสำเร็จในการรวบรวมข้อมูลดิบของการใช้อินเตอร์เน็ต 1 กิกะบิต ภายใน 96 ชั่วโมง โดยเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เน็ตเข้ากับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้งาน จนสร้างกลุ่มการประมวลผลที่เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์พกพาถึง 1,000 เครื่อง นำข้อมูลไปเก็บไว้ในคลังข้อมูลซุปเปอร์คลาวด์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทุกคนที่มีบัญชีการใช้งานสามารถเข้าถึงได้ นักวิจัยเผยว่า การค้นหาภัยทางไซเบอร์ก็เหมือนการใช้โทรศัพท์ ผู้โทร.ปกติอาจโทร.ออกและรับสายในจำนวนเท่ากัน แต่ผู้ส่งสแปม (spam) อันเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะจะมีการโทรมากกว่าล้านครั้ง ดังนั้น การตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็สามารถปรับปรุงได้ดีขึ้น ด้วยการสร้างรูปแบบรับส่งข้อมูลเครือข่ายพื้นฐานที่ถูกต้องแม่นยำ. ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 5 มี.ค. 2562  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ตรวจจับภัยทางไซเบอร์ (thairath.co.th) นพฤทธิ จันกลิ่นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ฝ่ายงานพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 1

การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตอนที่ 1 ผู้ใช้งานไม่ได้เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต เมื่อเข้าเว็บไซต์ www.bsru.ac.th จะขึ้นหน้าจอนี้   วิธีการตรวจสอบและแก้ไขปัญญา ดำเนินการขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เข้าสู่หน้าจอ Network and Center โดยคลิก Start > Control Panel ดังภาพ หมายเลข 1 , 2 แสดงการเข้าสู่หน้าจอ Control Panel   ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเข้าสู้หน้าจอ Control Panel เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกเลือก Network and Sharing Center ดังภาพ แสดงหน้าจอ All Control Panel Items ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเข้าสู้หน้าจอ Network and Sharing

Read More