วิธีการและขั้นตอนการเข้าหัวสาย Lan เบื้องต้น

            ปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่าแพร่หลาย ทั้งการสื่อค้นข้อมูล การติดต่อสื่อสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail แม้กระทั้งดูหนังฟังเพลงเราก็ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการทำงาน และระบบที่เราจะพูดถึงนี้ก็คือระบบเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต โดยใช้โครงข่ายสาย LAN ในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ตามบ้านหรือตามสำนักงานต่างๆ เพราะเป็นโครงข่ายพื้นฐาน ของระบบ อินเทอร์เน็ต

 

วัตถุประสงค์

  1. รู้จักอุปกรณ์เครื่องมือการเข้าหัว Lan
  2. เรียนรู้วิธีการขั้นตอนการเข้าหัว Lan เบื้องต้น

รู้จักอุปกรณ์เครื่องมือ การเข้า หัว Lan

  1. คีมเข้าหัว Lan
  2. เข้าหัวสายLanตัวเมีย Link แบบกระแทก
  3. คีมตัด
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. หัว RJ-45 ตัวผู้
  7. RJ-45 ตัวเมีย
  8. ปลอกสวม RJ-45
  9. สาย Lan UTP Cat 5s
  10. เครื่องมือเช็คสาย Lan

 

 

คีมเข้าหัว Lan

 

 

 

เข้าหัวสายLanตัวเมีย Link แบบกระแทก

 

 

 

คีมตัด

 

 

มีดคัตเตอร์

 

 

 

กรรไกร

 

 

 

หัว RJ-45 ตัวผู้

 

 

 

RJ-45 ตัวเมีย

 

 

ปลอกสวม RJ-45

 

 

สาย Lan UTP

 

 

เครื่องมือเช็คสาย Lan

 

 

วิธีการขั้นตอนการเข้าหัว Lan เบื้องต้น

เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้งานสายLan ชนิด UTP เป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาทำการเชื่อมต่อกันระหว่างตัวอุปกรณ์Switch กับเครื่องComputer ของเราและส่วนใหญ่มักจะนิยมซื้อสาย ที่ทำสำเร็จรูปแล้ว มาใช้งานกันเพื่อความสะดวก และรวดเร็วนั่นเอง ดังนั้นเรา จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงกรรมวิธีในการเข้าหัวของสาย Lan ที่สามารถนำมาใช้งานกันได้   ก่อนอื่นมารู้จักกับชนิดของสาย  Lan กัน อันนี้ไม่ลงลึกถึงชนิด และยี่ห้อนะ เอาเป็นแค่ชนิดสายที่เราจะนำมาใช้งานกัน สาย Lan นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ l.สายตรง(straight-thru cable)  2.สายไขว้หรือสาย (crossover cable )

1. สายตรง (straight-thru cable) สายชนิดนี้มีคุณสมบัติเอาไว้ใช้งานในกรณีที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน เช่น การเชื่อมต่อกันระหว่าง Switch กับPC หรือHub กับPC เป็นต้น โดย ลักษณะของสายนั้น ปลายสายที่เข้าหัว Lan จะต้องเหมือนกันทั้ง2 ฝั่ง โดยเลือกเอาว่าจะใช้การเข้าสายแบบ A หรือแบบ B ก็ได้เลือกเอาชนิดใด ชนิดหนึ่ง

 

 

2. สายไขว้ (crossover cable ) สายชนิดนี้มีคุณสมบัติเอาไว้ใช้งานในกรณีที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น การเชื่อมต่อกันระหว่าง PC กับPC หรือ Switch กับ Switch เป็นต้น

 

 

โดย  ลักษณะของสายนั้น ปลายสายที่เข้าหัว Lan จะต้องแตกต่างกัน คือ ด้านนึ่งจะเป็นแบบ A และ อีกด้านนึ่งจะต้องเป็นแบบ B เท่านั้น โดยกล่าวคือ ปลายสายของทั้งสองฝั่งจะต้องไม่เหมือนกันนั่นเอง

 

 

ลำดับ สีของสาย Lan แบบสายตรง ประเภท A และการเข้าสายไขว้(มาตรฐานการเข้าหัวสายแบบ EIA/TIA 568B )

ขาที่

ต้นสาย

ประเภท A

ปลายสาย

แบบสายตรง (straight-thru cable)

แบบสายไขว้ (crossover cable)

1

ขาว-เขียว

ขาว-เขียว

ขาว-ส้ม

2

เขียว

เขียว

ส้ม

3

ขาว-ส้ม

ขาว-ส้ม

ขาว-เขียว

4

น้ำเงิน

น้ำเงิน

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

ขาว-น้ำเงิน

ขาว-น้ำเงิน

6

ส้ม

ส้ม

เขียว

7 ขาว-น้ำตาล ขาว-น้ำตาล

ขาว-น้ำตาล

8 น้ำตาล น้ำตาล

น้ำตาล

 

 

ลำดับ สีของสาย Lan แบบสายตรง ประเภท B และการเข้าสายไขว้ (มาตรฐานการเข้าหัวสายแบบ EIA/TIA 568B )

ขาที่

ต้นสายประเภท B

ปลายสาย

แบบสายตรง (straight-thru cable)

แบบสายไขว้ (crossover cable)

1

ขาว-ส้ม

ขาว-ส้ม

ขาว-เขียว

2

ส้ม

ส้ม

เขียว

3

ขาว-เขียว

ขาว-เขียว

ขาว-ส้ม

4

น้ำเงิน

น้ำเงิน

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

ขาว-น้ำเงิน

ขาว-น้ำเงิน

6

เขียว

เขียว

ส้ม

7

ขาว-น้ำตาล

ขาว-น้ำตาล

ขาว-น้ำตาล

8

น้ำตาล

น้ำตาล

น้ำตาล

 

 

ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่า วิธีการจัดเรียงของสายตรงกับ สายไขว้จะสลับกัน ระหว่างเส้นที่ 1 ไปเป็นเส้นที่3 และเส้นที่2 ไปเป็นเส้นที่6 หรือจำง่ายๆว่า 1 ไป 3 และ 2 ไป 6 ก็ได้ เมื่อเรารู้ถึงชนิดของสายแล้ว เราจะมารู้ถึงประเภทของการเข้าหัว Lan กันว่า เป็นอย่างไร ระหว่าง แบบ A และ แบบ B ให้ดูตามรูปภาพด้านล่างประกอบ

 

 

 

จำนวนของสาย Lan ใน1 เส้นของสายชนิด UTP นั้น  มีทั้งหมดด้วยกัน 8 เส้น ตามรูปที่ 1cและรูปที่ 2 โดยจะเป็น เกลียว มาเป็นคู่ๆของแต่ละสี โดยจะมี สีขาวเขียว, สีเขียว , สีขาวน้ำเงิน, น้ำเงิน, สีขาวส้ม, สีส้ม, สีขาวน้ำตาล, น้ำตาล รวมทั้งหมดก็จะครบ 8 เส้น พอดี

 

แบบA     จะเป็นการเรียงสายจาก ด้านซ้าย ไปด้านขวา โดยจะเริ่มจาก สีขาวเขียว ,สีเขียว ,สีขาวส้ม,

สีน้ำเงิน,สีขาวน้ำเงิน ,สีส้ม ,สีขาวน้ำตาล ,สีน้ำตาล ตามรูปที่ 1

 

แบบ B    จะเป็นการเรียงสายจาก ด้านซ้าย ไปด้านขวา โดยจะเริ่มจาก สีขาวส้ม ,สีส้ม , สีขาวเขียว,

สีน้ำเงิน,สีขาวน้ำเงิน ,สีเขียว ,สีขาวน้ำตาล ,สีน้ำตาล ตามรูปที่ 2

 

 

RJ-45 คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สายคือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้  RJ-45 (หรือที่เรียกว่า RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลังด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ

 

 

วิธีการ เข้าหัว Lan ดังต่อไปนี้

  • ปลอกที่หุ้มสายออกประมาณ 2 – 3 ซม. แล้วคลี่สาย ให้ออกมาเรียงกันตามภาพ

 

 

  • ทำการจัดเรียงสายทั้ง8 เส้นให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ต้องการ โดยจะเลือกเป็น แบบA หรือB ก็ได้โดยการตัด แล้วจัดเรียงให้สายทุกเส้นยาวเท่ากัน โดยให้ยาวออกจากที่หุ้มสายประมาณ 7 ซม. หรือมากกว่า ตามความถนัด ดูตามภาพด้านล่าง ประกอบ

 

 

  • นำสายที่เรา เรียงไว้แล้วนั้นสอดเข้าที่หัว RJ-45 โดยคว่ำด้านที่มีตัวกดลงพร้อมกับดันเข้าไปให้สุด หลังจากนั้น นำคีมย้ำสายมา เพื่อทำการย้ำสายให้ติดกับหัวRJ-45 โดยการสอดเข้าไปในช่อง ขณะที่เราสอดเข้าไปนั้น พยายาม ดันสายไว้ตลอดเพื่อความ สมบูรณ์เพราะมีบางกรณีที่เราย้ำ หัวLan ไปแล้วใช้ไม่ได้เนื่องจากสายเข้าไม่สุดนั่นเอง ลองทำดูนะครับไม่ยากเท่าไหร่แต่ก็ไม่ง่าย อยู่ที่ความตั้งใจด้วย ดูตามภาพประกอบ

 

 

 

 

  • เมื่อทำการย้ำหัวLan เรียบร้อยแล้วควรจะต้องตรวจเช็คสายด้วย ว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่โดยการใช้เครื่องมือตรวจเช็คสาย Lan

 

 

 

  • วิธีการตรวจเช็คสาย ด้วยเครื่องมือวัดสาย Lan

 

 

นำสาย Lan ที่เข้าหัวเรียบร้อยแล้ว มาทดสอบโดยการเสียบเข้าไปที่เครื่องมือวัดสาย Lan ให้ปลายข้างหนึ่งเสียบเข้าที่ช่องหมายเลข 1 และปลายอีกข้างเสียบเข้าที่ช่องหมายเลข 2 หลังจากนั้นให้กดที่ Switchเปิด-ปิด แล้วให้สังเกต ตรงช่องสัญญาณไฟ ว่ามีแสงไฟครบทุกช่องหรือไม่โดย แสงไฟจะวิ่ง จากช่องที่ 1 (1&2)ไป จนถึงช่องที่4 (7&8)ของทั้งสองฝั่ง ให้สังเกต ประมาณ3-4 รอบ ในการวิ่งของแสงไฟ ถ้าปกติก็เป็นอันว่า สายLan ของเรานั้นสามารถใช้งานได้แต่ถ้าแสงไฟ ที่วิ่งนั้น ไม่เหมือนกันทั้ง2 ฝั่ง เช่นฝั่งหนึ่งเลข 2 (3&6)ไฟติด แต่อีกฝั่งไฟ ไม่ติด ก็แสดงว่าสาย Lan เส้นนั้นมีปัญหาแน่นอน และต้องทำการเข้าหัวใหม่ ทันทีโดยดูว่าฝั่งไหนที่ไฟไม่ติดก็ทำการเข้าหัวใหม่ที่ปลายสายฝั่งนั้น หลังจากทำเสร็จแล้วก็นำมาตรวจเช็คอีกครั้งว่าใช้งานได้หรือไม่ ส่วน วิธีการตรวจเช็คของ สายLan ที่เป็นชนิดสายไขว้หรือ สาย cross นั้น วิธีการดูให้สังเกตไฟ ช่องที่1 (1&2) อีกฝั่งจะติด (3&6) ช่องที่ 2 (3&6)อีกฝั่งจะติด (1&2)  ช่องที่ 3(4&5)อีกฝั่งจะติด(4&5) ช่องที่ 4 (7&8)อีกฝั่งจะติด(7&8) ส่วนเลขอื่นๆนั้น ไฟจะวิ่งตรงกันตามปกติและให้สังเกตประมาณ 3-4 รอบเช่นกัน เพียงแค่นี้เราก็จะมีสาย Lanไว้ใช้งานกัน แล้วนะครับ ส่วนความยาวของสายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และระยะทางที่จำเป็นในการใช้งาน ของแต่ละบุคคล แต่ความยาวสูงสุดไม่ควรจะเกิน100 เมตร เพราะจะทำให้ สัญญาณในการส่ง ไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อจำกัดของสายชนิดUTP ทั้งนี้ในการเข้าหัว Lan นั้นอาจจะต้องอาศัย ความอดทนด้วย เพราะวิธีการทำนั้น มันไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายนะ กว่าจะได้สาย Lan มาหนึ่งเส้นนั้น เราอาจจะต้องเสีย หัวRJ-45 ไปแล้วหลาย อันก็เป็นได้ฉะนั้นถ้าทำ บ่อยๆ เดี๋ยวก็จะมีความชำนาญ และเก่ง ได้ครับ

 

สรุป เนื้อหา เข้าหัวสาย Lan เบื้องต้น

การเข้าหัวสาย Lan เบื้อต้น เพื่อเกิดเข้าใจในการใช้งานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน  ในงานซ่อมบำรุงต่อไป

 

อ้างอิง..จากหนังสือ  สร้างเครือข่าย Home Networking ภายในบ้านและสำนักงาน

บรรณานุกรม โดย อำนาจ มีมงคล,ภีรพล  คชาเจริญ (บรรณาธิการ) มีนาคม2546  ISBN  974-91102-2-6