การใช้งาน Backoffice ผ่านโปรแกรม Anydesk

สิ่งที่ต้องเตรียม 1. Remote ID และ รหัสผ่าน ( ขอใช้งานได้ที่สำนักคอมพิวเตอร์) 2. ติดตั้งโปรแกรม AnyDesk บนเครื่องที่ท่านใช้งาน ดูวิธีการติดตั้งที่ -> https://link.bsru.ac.th/anydesk 3. การใช้งานระบบ BackOffice ผ่านโปรแกรม AnyDesk จะต้องไม่เผยแพร่ ID และ Password แก่ผู้อื่นโดยเด็ดขาด ถ้ากรณีมีปัญหาความผิดพลาดในข้อมูลระบบ ERP&MIS จาก ID ผู้ถือครอง หรือมีการละเมิดการใช้งานที่ผิดข้อบังคับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ผู้ที่ถือครองต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ******************************************************************************

SophosLabs Research พบแนวโน้มอันตรายไซเบอร์ “ที่ออกแบบมาอย่างดี” กำลังพุ่งสูงขึ้น

Sophos  ได้เปิดเผยวันนี้ว่า ทาง SophosLabs Research ค้นพบแนวโน้มการเติบโตของอาชญากรไซเบอร์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายตามรายประเทศ โดยออกแบบ Ransomware และการโจมตีทางไซเบอร์ที่อันตรายอื่นๆ ให้เข้ากับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้รวมรวบมาจากเครื่องเอ็นด์พอยท์หลายล้านจุดทั่วโลก ที่นำมาวิเคราะห์โดยทีมงานของ SophosLabs เพื่อล่อเหยื่อให้เข้ามาติดกับมากขึ้นนั้น ปัจจุบันเหล่าอาชญากรไซเบอร์ได้ออกแบบสแปมแบบที่ปรับแต่งทั้งรูปแบบการสื่อสาร, โลโก้แบรนด์, รวมทั้งวิธีการชำระเงินที่สอดคล้องกับที่ใช้ในพื้นที่นั้นๆ  ซึ่ง Sophos ระบุว่าไวรัสเรียกค่าไถ่นี้ปลอมตัวได้อย่างแนบเนียนในรูปการแจ้งเตือนทางอีเมล์, ปลอมโลโก้แบรนด์ในท้องถิ่น เพื่อให้น่าเชื่อถือมากขึ้น, มีอัตราการคลิกสูงขึ้น และทำให้อาชญากรทำเงินได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งเพื่อที่จะให้เมล์หลอกลวงเหล่านี้หลอกได้ผลมากที่สุด ก็มักจะแฝงตัวในรูปหน่วยงานในประเทศนั้นๆ เช่น ไปรษณีย์, หน่วยงานด้านภาษีและกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนการได้รับพัสดุไปรษณีย์, การคืนเงิน, การจองตั๋วแบบลัดคิว, หรือแม้แต่การแจ้งบิลค่าไฟฟ้า SophosLabs ยังพบด้วยว่าสแปมเหล่านี้มีการใช้ภาษาและไวยากรณ์ในท้องถิ่นอย่างถูกต้องจนเดาไม่ออกเลยทีเดียว   “คุณจำเป็นต้องตรวจดูอย่างละเอียดมากเพื่อแยกเมล์จริงจากเมล์ปลอม” เชสเตอร์ วิสนิวสกี้ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านความปลอดภัยของ Sophos กล่าวและเสริมว่า “การตระหนักถึงเทคนิคการหลอกลวงที่ใช้ในพื้นที่ของคุณ ถือเป็นหลักการสำคัญด้านความปลอดภัย” นักวิจัยยังพบแนวโน้มการใช้ Ransomware หลากหลายสายพันธุ์ต่อเป้าหมายที่เจาะจงด้วย เช่น CryptoWall หลายเวอร์ชั่นที่เจาะจงเหยื่อในสหรัฐฯ, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน และฝรั่งเศส

Read More

ปัญหาการเชื่อมต่อ SMTP ของ Google

หากพบปัญหาการเชื่อมต่อ smtp ในการส่งอีเมล (ที่เขียนผ่านหน้า php) SMTP Error : Could not authenticate ให้ตรวจสอบและทำตามวิธีดังนี้ 1.Enable SMTP Google : http://www.google.com/accounts/DisplayUnlockCaptcha 2.Disable 2FA : https://support.google.com/accounts/answer/1064203?hl=th 3.Enable Less secure app access : https://myaccount.google.com/lesssecureapps

หาค่าความต่างของวันเวลาด้วย php

วิธีการหาความต่างของวัน เวลา  โดยเอาค่าเวลาที่ 2 ลบด้วยเวลาที่ 1 โดยใช้คำสั่ง $strDateTime1 = “12/8/2016 11:22”; $strDateTime2 = “12/8/2016 13:22”; $Difftime = strtotime($strDateTime2) – strtotime($strDateTime1))/ ( 60 * 60 *24); // 1 Hour = 60*60

เตือนระวังเว็บปลอม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้อ้างข้อมูลเท็จลวงให้ลงทุน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนระวังเว็บปลอมลวง หวังหลอกลวงให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล ที่เป็นสมมติเลขทะเบียนขึ้นมา แล้วหวังผลให้เหยื่อร่วมลงทุน ยันเร่งหาตัวคนทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย…                    เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2562 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมได้ติดตามและตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการให้บริการข้อมูลนิติบุคคลแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นข้อมูลผ่านทางออนไลน์ของกรม โดยเป็นมาตรการที่เคร่งครัดด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีที่กรมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีได้ปลอมแปลงเว็บไซต์ โดยใช้ชื่อโดเมนเนมว่า http:///dbd-go-thdbdwebthaii.com ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายกับเว็บไซต์หลักของกรม หน้าภาษาอังกฤษ และมีช่องทางให้ผู้ที่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมข้างต้นกรอกข้อมูลเพื่อเข้าไปตรวจสอบเลขทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งเลขดังกล่าวเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งจริงกับกรม                   “ชัดเจนว่าการกระทำนี้ มีเจตนาหลอกลวงให้ผู้ที่เข้าไปใช้เว็บไซต์ปลอม เชื่อว่า เลขนิติบุคคลที่ได้สมมติขึ้น มีการจดทะเบียนจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอาจทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดต่อกับผู้ทำเว็บไซต์ปลอมนี้ ถูกล่อลวงและหลงเชื่อให้ร่วมดำเนินธุรกิจ จนกระทั่งเกิดความเสียหายตามมา” ทั้งนี้ กรมอยู่ระหว่างการตรวจสอบเชิงลึกถึงที่มาและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว ประกอบกับ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายและการปราบปรามผู้กระทำผิดทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด

Read More

การแปลง DateVale(excel) เป็น Date time ด้วย php

วิธีการแปลงค่า Datetime เป็นค่า Datevale ด้วย PHP เนื่องจาก Excel สามารถเปลี่ยน datetime เป็นค่าตัวเลขได้เลยแต่ php ไม่ได้สามารถทำได้ ทำได้เพียงเปลี่ยนเป็น unixtime ด้วยคำสั่ง strtotime() เท่านั้น วิธีนี้สามารเอา unixtime แปลงเป็นค่า datevalue เหมือนในExcel ให้สามารถแปลงค่าได้เหมือนกับสูตรใน excel ได้ ############## ตัวอย่าง Code $get_datetime=”13/8/2016 11:22″; $datetime=str_replace(“/”,”-“,$get_datetime); $fix_value=25569; echo $fix_value+(strtotime($datetime)/86400); Please use this formula to change from Excel date to Unix date, then you can use “gmdate” to get the

Read More

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ตรวจจับภัยทางไซเบอร์

ปริมาณข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 48 ชั่วโมงนั้นมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา 1 เครื่องหรือ 100 เครื่อง ที่จะประมวลผล ยิ่งความ ต้องการระบุภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร นักวิเคราะห์เลยต้องพึ่งพาการสุ่มตัวอย่างข้อมูลขนาดเล็ก เพื่อสืบเสาะพฤติกรรมน่าสงสัยและภัยที่อาจเกิดขึ้น ทว่าการสุ่ม ตัวอย่างแบบนี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ แต่ใช่ว่าหนทางจะตีบตัน ล่าสุด วีเจย์ กาเดพัลลี เจ้าหน้าที่อาวุโสของห้องปฏิบัติการศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ลินคอล์น เชื่อว่าระบบปฏิบัติการที่ช่วยประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลจะเป็นตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมของนักวิเคราะห์ ให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคราวเดียว ซึ่งทีมประสบความสำเร็จในการรวบรวมข้อมูลดิบของการใช้อินเตอร์เน็ต 1 กิกะบิต ภายใน 96 ชั่วโมง โดยเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เน็ตเข้ากับชุดข้อมูลที่พร้อมใช้งาน จนสร้างกลุ่มการประมวลผลที่เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์พกพาถึง 1,000 เครื่อง นำข้อมูลไปเก็บไว้ในคลังข้อมูลซุปเปอร์คลาวด์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทุกคนที่มีบัญชีการใช้งานสามารถเข้าถึงได้ นักวิจัยเผยว่า การค้นหาภัยทางไซเบอร์ก็เหมือนการใช้โทรศัพท์ ผู้โทร.ปกติอาจโทร.ออกและรับสายในจำนวนเท่ากัน แต่ผู้ส่งสแปม (spam) อันเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะจะมีการโทรมากกว่าล้านครั้ง ดังนั้น การตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็สามารถปรับปรุงได้ดีขึ้น ด้วยการสร้างรูปแบบรับส่งข้อมูลเครือข่ายพื้นฐานที่ถูกต้องแม่นยำ. ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 5 มี.ค. 2562  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ตรวจจับภัยทางไซเบอร์ (thairath.co.th)